Siam Business Forum 3 “The Future of Education” วันที่ 21 พ.ย. 2018 บรรยายโดย คุณกระทิง พูนผล ผู้ก่อตั้ง Disrupt สถาบันสอนสตาร์ตอัพ ผู้บริหารกองทุน 500 TukTuks กองทุนย่อยในเครือ 500 Startups ของสหรัฐอเมริกา ณ ห้องประชุมคณะแพทยศาสตร์ อาคาร 19 ชั้น 10 เวลา 13.30-15.00 น. ดร.พรชัย มงคลวนิช อธิการบดี รศ.ดร.จอมพงศ์ มงคลวนิช รองอธิการบดี และคณะผู้บริหาร คณาจารย์ นักศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม สนใจเข้าร่วมฟังการบรรยายทิศทางและอนาคตในแวดวงการศึกษาไทยที่กำลังก้าวเข้าสู่ยุค Digital Disruption อย่างเต็มตัว ที่ต้องเร่งสร้างบุคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัล เพื่อรองรับกับความต้องการแรงงานคุณภาพที่เพิ่มมากขึ้น Siam Business Forum ครั้งที่ 3 จัดโดย บัณฑิตวิทยาลัยบริหารธุรกิจ MBA, รศ.ดร.จอมพงศ์ มงคลวนิช (คณบดี)
รู้จักกระทิง พูนผล
กระทิง พูลผล (คุณเรืองโรจน์ พูนผล) จากเด็กน้อยตัวเล็กๆ ที่คุณแม่ตั้งชื่อให้แข็งแรงเหมือนกระทิง เรียนหนังสือในโรงเรียนประถมวัดคูยาง จังหวัดกำแพงเพชร ค้นพบตัวเองจากรางวัลที่ 2 การประกวดอ่านร้อยแก้วประจำจังหวัด และก้าวเข้าไปสู่รางวัลเหรียญทองฟิสิกส์โอลิมปิก เหรีญทองแดงคณิตศาสตร์โอลิมปิค และที่สาม ด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย จากโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม สอบติดแพทย์ศิริราช และเปลี่ยนมาเรียนที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกียรตินิยมอันดับ 1 เข้าทำงานที่บริษัทในเครือพีแอนด์จี แล้วเรียนต่อหลักสูตรอินเตอร์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำงานฝ่ายขาย และการตลาดของพีแอนด์จี จนกระทั่งเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามาครองโลก และธุรกิจต่างๆ ในยุคเริ่มต้น จนมีมูลค่ามหาศาล และทรงอิทธิพลต่อคนทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน เช่น บริษัทขายสินค้าออนไลน์อย่าง Yahoo ร้านค้าเล็กๆ ที่ประสบความสำเร็จจนมีมูลค่าทางธุรกิจเป็นหมื่นๆ ล้าน ได้อย่างไม่น่าเชื่อ เหตุการณ์เหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจให้ กระทิง พูลผล สนใจที่จะเข้าไปสู่ “ซิลิคอน แวลลีย์” บริษัทที่อุดมไปด้วยบุคลากรที่จบจากโรงเรียนบริหารด้านธุรกิจ สถาบันสแตนฟอร์ด ผู้ให้กำเนิด Google, Yahoo, Instagram เป็นต้น (ณัฏฐ์ธยาน์ สุทธิเจริญ, 2559)
กระทิง พูลผลเข้าสู่สถาบันแสตนฟอร์ด มีโอกาสได้เข้าเรียนในคลาสที่มี อีริค ชมิดท์ ประธานกรรมการบริหาร กูเกิล อิงค์ กับรูปแบบยุทธศาสตร์ในการทำสตาร์ตอัพยุคแรกของยาฮูและอีเบย์ ได้ทำให้คุณกระทิง เกิดมุมมองและแนวคิดใหม่ๆเกี่ยวกับสตาร์ตอัพ และได้ฟังแนวคิดด้านการเป็นสตาร์ทอัพยุคแรกจาก มาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก เจ้าของบริษัท Facebook
รู้จัก กองทุน 500 TukTuks
กองทุน 500 TukTuks คือการลงทุนในสตาร์ตอัพเมืองไทยระดับ seed stage (รับเงินลงทุนก้อนแรก) หรือก่อน series A โดยมีโจทย์ว่าจะลงทุนให้ได้ 50 บริษัทภายใน 3 ปีข้างหน้า ตอนนี้ลงทุนไปแล้วประมาณ 10 บริษัท ก็เหลืออีก 40 ราย คิดเลขง่ายๆ คือเดือนละบริษัท
สิ่งที่กองทุนนี้มอบให้คือเงิน กรอบประมาณ 1 แสนดอลลาร์หรือ 3 ล้านบาท แต่นอกจากเงินแล้ว 500 TukTuks ยังเป็นแพลตฟอร์มสำหรับผลักดันสตาร์ตอัพในแง่ความรู้และคอนเนคชั่นด้วย เพราะเราอยู่ในสังกัดของ 500 Startups ซึ่งเป็น 1 ใน 3 กองทุนชื่อดังของสหรัฐที่ลงเงินในบริษัทขั้น early-stage (อีก 2 รายคือ Y Combinator และ Techstars) ถือเป็นการยกกองทุนจากซิลิคอนวัลเลย์มาเมืองไทยเป็นครั้งแรก
สิ่งที่ 500 Startups มีให้คือโครงการบ่มเพาะที่เรียกว่า Distribution หรือเรียกสั้นๆ ว่า Distro เป็นทีมผู้เชี่ยวชาญที่สอนเรื่องกระบวนการด้านตัวเลขโดยเฉพาะ เช่น ต้นทุนในการหาผู้ใช้ การผลักดันอัตราการเติบโต (growth hacking) ไว้พอเราลงทุนในบริษัทได้จำนวนเยอะพอสมควร ก็จะดึงทีม Distro บินมาสอนที่เมืองไทยเลย
สิ่งที่ 500 TukTuks ช่วยได้คือเครือข่ายของ 500 Startups ในระดับโลก อธิบายง่ายๆ คือ 500 TukTuks จะลงทุนขั้นต้นในขั้นของเมืองไทยให้ก่อน พอบริษัทเดินหน้าไปได้ระดับหนึ่งแล้วก็ยังมีกองทุน 500 Durians ที่จับตลาดระดับเอเชียตามลงทุนต่อให้ และถ้าไปได้ไกลกว่านั้นก็จะเป็น 500 Startups อันหลักเลย ดันไปได้ถึง series B
เครือข่ายของ 500 Startups สามารถเชื่อมต่อให้คุยกันได้ เช่น ถ้ามีบริษัทที่ทำธุรกิจคล้ายๆ กันในประเทศอื่น เราสามารถต่อให้ founder คุยกันเพื่อรับทราบประสบการณ์แบบเดียวกันได้ ไม่ต้องเริ่มใหม่ทั้งหมดจากศูนย์
500 TukTuks มองหาบริษัทแบบไหน
บริษัทที่เรามองหาคือคนที่ยังไม่ได้รับเงินลงทุนแม้แต่ก้อนเดียว ถ้าคิดว่าพร้อมจะลุย มีทีมงานแล้ว ยังไม่มีเงิน ไม่มีความรู้ มาคุยได้เลย
การมาร่วมกับ 500 TukTuks เราคาดหวังว่าจะต้องมาทำงานแบบฟูลไทม์ ต้องจดบริษัท ตอนมาคุยยังไม่จดบริษัทหรือไม่ลาออกจากงานประจำก็ไม่เป็นไร แต่ถ้ามาแล้วก็ขอให้พร้อมสำหรับการทำงานเต็มเวลา
บริษัทแบบที่เราต้องการคือบริษัทที่ทำธุรกิจด้านอินเทอร์เน็ต สามารถสเกลหรือขยายตัวได้จากประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต บริษัทด้านฮาร์ดแวร์อาจยังไม่เข้าข่ายเพราะเราไม่เชี่ยวชาญ สิ่งที่เราอยากได้คือนำโมเดลธุรกิจจากต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จแล้ว มีตัวอย่างพิสูจน์แล้วว่าทำได้จริง นำมาปรับแต่งให้เหมาะสมกับตลาดเมืองไทย และในระยะต่อไปสามารถขยายไปยังระดับภูมิภาคได้
ตัวอย่างบริษัทแบบนี้ก็อย่างเช่น Ookbee, Wongnai, Priceza ที่นำโมเดลของต่างประเทศมาบุกตลาดไทยจนประสบความสำเร็จแล้ว ตัวอย่างโมเดลที่เราสนใจก็พวกทำ marketplace และ e-commerce เฉพาะด้าน
ทีม founder ที่เราอยากเห็นคือทีมที่มีครบทั้งคนทำด้านธุรกิจ ด้านเทคนิค ด้านดีไซน์ 3 อย่าง ซึ่งจากประสบการณ์พบว่าทีมเมืองไทยยังไม่ค่อยครบสายเท่าไร บางครั้งก็เป็นทีมด้านธุรกิจหมดเลย หรือด้านเทคนิคกันทุกคนเลย
ตัวอย่างบริษัทที่เราลงทุนไปแล้วคือ Blisby ตลาดซื้อขายงานประดิษฐ์ และ Omise บริษัททำระบบจ่ายเงิน
ถ้าสนใจอยากเข้าไปขอเงินลงทุนจาก 500 TukTuks ต้องทำอย่างไร
นัดเข้ามาคุยได้เลยครับ เมลมาที่ krating@500.co หรือถ้าเจอตัวที่ไหนก็เดินเข้ามาคุยได้เลย
(blog, 2015)
mk’s blog. (29 มิถุนายน 2015). สัมภาษณ์ กระทิง พูนผล บริษัทสตาร์ตอัพแบบไหนที่กองทุน 500 TukTuks ต้องการ. เข้าถึงได้จาก BLOGNONE: https://www.blognone.com/node/68053
ณัฏฐ์ธยาน์ สุทธิเจริญ. (13 มีนาคม 2559). “กระทิง พูนผล” มือปั้นสตาร์ทอัพไทย. เข้าถึงได้จาก Posttoday: https://www.posttoday.com/politic/report/421196
พรพรรณ ปัญญาภิรมย์. (24 สิงหาคม 2558). “กระทิง” เรืองโรจน์ พูนผล Behind a Startup. เข้าถึงได้จาก Forbes Thailand: http://www.forbesthailand.com/news-detail.php?did=535
เว็บไซต์ Startupthailand: https://www.startupthailand.org/
ติดตามแฟนเพจ @500tuktuks: https://www.facebook.com/500tuktuks/
โพสที่เกี่ยวข้อง:
- Siam Business Forum 5 ” Thailand’s Economic Perspective in An Uncertain World” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
- Siam Business Forum 4 “Design Thinking” เมษ์ ศรีพัฒนาสกุล
- Siam Business Forum 2 “The Future of Thailand” Dr.Supachai Panitchpakdi
- Siam Business Forum 1 เศรษฐกิจไทยยุคดิจิตอล “ทางเลือก ทางรอด และโอกาส” ปริญญ์ พานิชภักดิ์